ร้อยเรื่องเมืองล้านนาชามตราไก่ ลำปาง
ร้อยเรื่องเมืองล้านนาชามตราไก่ ลำปาง
ชามตราไก่ ลำปาง ร้อยเรื่องเมืองล้านนาชามก๋วยเตี๋ยว ถ้วยตราไก่ ร้านศรีสวัสดิ์เซรามิกลำปาง ร้านอาหาร รูปไก่ อาลัมภางค์นคร เขลางค์นคร เขลางค์อาภัมภางค์นคร เมืองลำปาง เมืองไก่ เวียงละกอน โรงงานทำถ้วย ถ้วยตราไก่เป็นถ้วยเก่าแก่ของลำปางรูปพรรณคล้ายๆ ชามก๋วยเตี๋ยว ข้างๆ ถ้วยจะเขียนเป็นรูปไก่ และนับเป็นถ้วยที่หายากเข้าไปทุกที เท่าที่เห็นมีขายตามร้านของเก่าหรือสวนจตุจักร ซึ่งราคาถ้วยใบเก่าค่อนข้างแพงบางใบมีราคาหลายพันบาท เขลางค์นคร หรือ เวียงละกอน เป็นชื่อที่ใช้เรียกเมืองลำปางมาตั้งแต่ครั้งอดีต เริ่มแรกที่ปรากฏเรื่องราวของเมืองลำปางสรุปได้ว่าเขลางค์นครสร้างเมื่อ พ.ศ.1223 โดยเจ้าอนันตยศราชบุตรของพระนางจามเทวีแห่งเมืองหริภุญไชย ต่อมาได้สร้างเมืองขึ้นใหม่อีกเมืองหนึ่ง ใกล้ๆ กับเมืองเขลางค์นคร เรียกว่า “อาลัมภางค์นคร” เมืองทั้งสองนี้เป็นเมืองคู่กัน ชาวเมืองในสมัยนั้นจึงเรียกชื่อรวมกันว่า “เขลางค์อาภัมภางค์นคร” ต่อมาเรียกสั้นลงเหลือเป็น “ลัมภางค์นคร” แล้วกลายมาเป็นลำปางนครในที่สุด นอกจากนี้ยังมีตำนานพื้นเมืองบางฉบับเรียกชื่อเมืองลำปางว่า “กุกกุฎนคร” ซึ่งแปลว่า “เมืองไก่” เมืองลำปางจึงมีสัญลักษณ์เป็นรูปไก่ ซึ่งสามารถพบเห็นอยู่ตามป้ายถนนและตึกเก่าหลายแห่ง แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ชื่อเสียงของลำปางโด่งดังในเรื่องไก่ก็คือ การทำ ถ้วยตราไก่ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดลำปางและอาจพบได้ที่นี่แห่งเดียวเท่านั้น
เริ่มต้นการผลิตถ้วยตราไก่ของจังหวัดลำปาง
การผลิต ถ้วยตราไก่ของจังหวัดลำปาง เริ่มต้นอย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ.2503 เมื่อชาวจีน 2 คนคือ นายซิวกิม แซ่กวอกและนายซิมหยู แซ่ฉิน ได้ร่วมกันตั้งโรงงานทำถ้วยตราไก่แบบเมืองจีนขึ้น นับเป็นโรงงานทำ ถ้วยตราไก่ แห่งแรกของลำปาง ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อครั้งที่ทั้งสองอยู่เมืองจีนเคยทำงานในโรงถ้วยชาม ซึ่งต้องทำงานทุกขั้นตอนตั้งแต่การล้างดิน ปั้นถ้วย เคลือบ เขียนลายและนำเข้าเตาเผา เมื่อเดินทางเข้ามาอยู่ในประเทศไทยก็ได้ทำงานในโรงงานเครื่องปั้นดินเผาที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเดิมโรงงานแห่งนี้จะทำเฉพาะโอ่ง กระถางต้นไม้ ต่อมาเจ้าของโรงงานต้องการทำถ้วยแบบจีน เพราะขณะนั้นเมืองจีนปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ ถ้วยจากเมืองจีนจึงเข้ามาในเมืองไทยไม่มากนักและมีราคาแพง นายซิวกิมและนายซิมหยูจึงมาสมัครเข้าทำงาน ทั้งสองพยายามเสาะหาดินขาวแบบเมืองจีนจากที่ต่างๆ มาทดลองทำถ้วยชามแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ จนครั้งหนึ่งได้สังเกตหินลับมีดจากเมืองลำปางที่ส่งไปขายที่เชียงใหม่มีเนื้อดินสีขาวคล้ายดินขาวเมืองจีน ทั้งสองจึงลองนำหินลับมีดที่มีเนื้อผุมาทดลองเผาดูและเกิดความคิดที่จะไปค้นหาว่าดินชนิดนี้มีอยู่มากน้อยแค่ไหน จึงได้ลาออกไปทำงานที่โรงงานทำอิฐที่จังหวัดลำปาง ทั้งสองพากันเดินทางไปขุดดินขาวด้วยความยากลำบาก แต่ยังไม่แน่ในคุณภาพของดินจึงได้ให้โรงงานเครื่องปั้นดินเผาย่าน กล้วยนํ้าไทพิสูจน์อีกครั้ง
โรงงานถ้วยชามสามัคคี ชามตราไก่ ลำปาง
เมื่อรู้ว่าเป็นดินขาวที่ใช้ทำถ้วยชามแน่นอนก็กลับมาทดลองทำอีกและผลตามที่ต้องการ จึงคิดที่จะตั้งโรงงานทำถ้วยขึ้นแต่เนื่องจากไม่มีทุน จึงพากันกลับไปทำงานที่โรงงานในเชียงใหม่อีกครั้งเพื่อเก็บสะสมเงิน โดยใช้เวลาเก็บเงินอยู่ถึง 7 ปีจึงได้กลับมาตั้งโรงงานทำถ้วยตราไก่ขึ้นที่จังหวัดลำปางใช้ชื่อว่า โรงงานถ้วยชามสามัคคี ซึ่งนับเป็นโรงงานที่ทำ ถ้วยตราไก่ โรงแรกในจังหวัดลำปาง ถ้วยตราไก่ เป็นถ้วยเก่าแก่ของลำปางรูปพรรณคล้ายๆ ชามก๋วยเตี๋ยว ข้าง ๆ ถ้วยจะเขียนเป็นรูปไก่ และนับเป็นถ้วยที่หายากเข้าไปทุกที เท่าที่เห็นมีขายตามร้านของเก่าหรือสวนจตุจักร ซึ่งราคาถ้วยใบเก่าค่อนข้างแพงบางใบมีราคาหลายพันบาท ปัจจุบันการผลิตถ้วยตราไก่นั้นแทบไม่มีอีกแล้ว โรงงานผลิตหลายโรงต้องปิดตัวลงเนื่องจากคนรุ่นใหม่ได้หันมาใช้ถ้วยชามที่ผลิตจากภาชนะอย่างอื่นจึงทำให้ ถ้วยตราไก่ ไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควร แต่ยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสมาคมขึ้นใช้ชื่อว่า “สมาคมเครื่องปั้นดินเผาจังหวัดลำปาง” ได้มีการอนุรักษ์การผลิตถ้วยตราไก่ขึ้น ซึ่ง ถ้วยตราไก่ ที่เป็นของเก่านั้นกลายเป็นของหายาก จึงเป็นที่หมายปองของคนมีฐานะซื้อเก็บสะสมไว้
ชามตราไก่ ลำปางใกล้เคียงกับถ้วยของเก่า
ถ้วยตราไก่ ที่ผลิตขึ้นในจังหวัดลำปางก็มีความใกล้เคียงกับถ้วยของเก่า อาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เช่นที่ร้านศรีสวัสดิ์ ซึ่งเป็นโรงงานผลิตถ้วยตราไก่ที่มีอายุเก่าแก่ประมาณ 40 ปี โดยมีครูโยธี หรือที่ชาวบ้านในละแวกนั้นเรียกว่า “ครูศรี” เป็นผู้ก่อตั้งขึ้นจนกิจการเจริญก้าวหน้ามาถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน โรงงานแห่งนี้ก็ยังมีการผลิตถ้วยตราไก่อยู่ คุณกนกวรรณ โยธาวุฒิ ผู้สืบทอดการผลิตถ้วยตราไก่ เจ้าของร้านศรีสวัสดิ์เซรามิกลำปาง เล่าให้ฟังว่า เดี๋ยวนี้ในลำปางไม่มีใครผลิตถ้วยตราไก่แล้ว มีเพียงที่นี่แห่งเดียวที่ยังคงอนุรักษ์การผลิตแบบดั้งเดิมคือจะใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงในการเผา ส่วนลวดลายก็ยังคงใช้ลายแบบสมัยเก่าที่สำคัญทางร้านยังใช้คนเขียนลวดลายทั้งหมดอีกด้วย ถ้วยตราไก่ ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน อาจเทียบไม่ได้กับของเก่า แต่ฝีมือขนาดนี้ก็นับว่าดีที่สุดสำหรับปัจจุบัน ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์แนวทางการเขียนไว้ในรูปลักษณะเดิม นอกจากนั้น ถ้วยตราไก่ ยังมีการพัฒนารูปแบบให้ทันสมัยยิ่งขึ้น เพราะทางร้านมีการผลิตถ้วยตราไก่ขนาดจิ๋วหลากหลายรูปแบบ เหมาะสำหรับนำไปเป็นของฝากของที่ระลึก ความจริงร้านขายก๋วยเตี๋ยว ข้าวซอยรวมถึงร้านอาหารต่างๆ ในจังหวัดลำปางและใกล้เคียงน่าจะหันมาใช้ ถ้วยตราไก่ กันบ้าง เพราะไก่เองก็เป็นสัญลักษณ์ของเมืองนี้ ทั้งยังเป็นการอุดหนุนผู้ผลิตจะได้มีการผลิตกันอยู่ไม่สูญหาย คนรุ่นหลังจะได้รู้จักและยังเป็นการอนุรักษ์มรดกของเก่าของจังหวัดลำปางอีกด้วย
ถ้วยตราไก่ ลำปาง, ชามตราไก่ ลำปาง, จำหน่ายสินค้า OTOP, จำหน่ายสินค้า OTOP ทั่วประเทศ, จำหน่ายสินค้า OTOP ของดีทุกจังหวัด, ยุคแห่งการนำเสนอและขายของออนไลน์, สินค้าภูมิปัญญาชาวบ้าน, สินค้าพื้นบ้าน, อาหารพื้นบ้าน, เกษตรกร 100%, ร้านค้า, รวมสินค้า OTOP จากทุกจังหวัด, ตัวแทนสินค้ามาส่งถึงมือท่าน, OTOP ขอนแก่น, OTOP ชัยภูมิ, OTOP ร้อยเอ็ด, OTOP กาฬสินธุ์, ให้บริการฝาก-ขาย สินค้า OTOP, จำหน่ายสินค้าพื้นบ้านประจำจังหวัด, ของฝาก ของที่ระลึก, อาหารแห้ง อาหารสด