otopthaishop

เคล็ดลับ OTOP ไทยกับความสำเร็จแบรนด์ไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก

OTOP ไทย

เคล็ดลับ OTOP ไทยกับความสำเร็จแบรนด์ไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก

OTOP ไทย ถึงแม้ประเทศไทย ไม่ได้เป็นแหล่งผลิตของโลก และไม่ได้มีแบรนด์ระดับ World-class มากนัก เมื่อเทียบกับประเทศที่ก่อร่างสร้างแบรนด์มายาวนาน แต่เมื่อพูดถึงระดับการยอมรับ พบว่าสินค้า “แบรนด์ไทย” และ “แบรนด์ท้องถิ่น” เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก และหลายผลิตภัณฑ์ – หลายแบรนด์มีชื่อเสียง และได้รับความนิยมในกลุ่มคนต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยว ที่มาไทย แล้วไม่พลาดซื้อกลับไป หรือส่งออกไปตลาดต่างประเทศ สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ ซีเอ็มเอ็มยู (CMMU) ให้นิยาม “OTOP สินค้าไทย” กับ “สินค้าท้องถิ่น” ไว้ว่า “OTOP สินค้าไทย” คือ สินค้าที่ผลิตในประเทศไทย ใช้วัตถุดิบที่มีในประเทศไทย ผลิตเพื่อจําหน่ายให้กับคนไทยและชาวต่างชาติ เป็นสินค้าที่รู้จักในคนวงกว้างผ่านการทําการตลาดและประชาสัมพันธ์  “สินค้าท้องถิ่น” คือ สินค้าที่ลักษณะเฉพาะที่ผลิตและจําหน่ายในแต่ละท้องถิ่นนั้นๆ เริ่มต้นจากภูมิปัญญา วิถีชีวิต ประเพณี และได้รับการพัฒนาต่อยอด ด้วยความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น แต่อาจยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม เมื่อดูข้อมูลเชิงลึกจะพบว่า สินค้าโอทอปที่มีกว่า 20,000 กว่าราย กลับมีสินค้ามากกว่า 40% ของโครงการโอทอปทั้งหมดที่ยังไม่สามารถก้าวสู่ความเป็นมาตรฐานสากลหรือแข่งขันในตลาดโลกได้ หรือหากเปรียบเทียบยอดจำหน่ายสินค้าโอทอป กับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ในปี2561 ก็จะคิดเป็นเพียง 1.2% เท่านั้น ซึ่งถือว่ายังน้อยมาก ดังนั้น หากผลักดันสินค้าโอทอปไทยให้ถูกช่องทาง ก็จะสามารถเพิ่มรายได้ให้กับประเทศไทยได้อีกหลายเท่าตัว อย่างไรก็ตามพบว่าสินค้าโอทอปไทยยังมีจุดอ่อนสำคัญ 3 ด้านหลัก คือ

  1. การตลาด สินค้าไม่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือ สินค้ามีลักษณะใกล้เคียงกัน ไม่มีความแตกต่าง บรรณจุภัณฑ์ หีบห่อไม่สวยงามและทันสมัย 
  2. ตั้งราคาไม่สอดคล้องกับต้นทุนของสินค้า ทำให้ประสบปัญหาทางการเงินจนเกิดภาวะขาดทุน 
  3. ขาดช่องทางการจำหน่าย ส่งผลให้ผู้บริโภคไม่สามารถเข้าถึงสินค้า และไม่มีการทำการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ ทำให้ผู้บริโภคไม่รู้จักแบรนด์และสินค้า

องค์ประกอบของ “แบรนด์ไทย – แบรนด์ท้องถิ่น” ที่ดี

องค์ประกอบพื้นฐานของ “OTOP สินค้าไทย และสินค้าท้องถิ่นที่ดี” ที่ CMMU รวบรวมในไทย และต่างประเทศ 15 งานวิจัย สรุปออกมาเป็นองค์ประกอบด้วย คือ เอกลักษณ์ (Identity) คือ ลักษณะเฉพาะที่ไม่มีใครเหมือน ทำให้เป็นจุดเด่น เป็นท่ีรู้จัก และจดจำได้ ที่บ่งชี้สินค้าท้องถิ่นนั้นๆ ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Wisdom) องค์ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความเชื่อ วัฒนธรรม การใช้ชีวิต และประสบการณ์ของคนในท้องถิ่นที่สั่งสมมายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น จนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของกลุ่มชน หรือชนชาติ หรือคนท้องถิ่นนั้นๆ ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การพัฒนา ดัดแปลง ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพ – ประสิทธิผล และสร้างมูลค่าเพิ่มใหักับแบรนด์ – OTOP สินค้าไทย จากแบบสอบถามออนไลน์จำนวน 1,032 ราย เพื่อศึกษาการรับรู้สินค้าและกระบวนการตัดสินใจซื้อ OTOP สินค้าไทย และสินค้าท้องถิ่น และสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้บริโภคในแต่ละเจนเนอเรชั่น ในเขตขอนแก่น จำนวน 30 ราย เพื่อศึกษา Customer Journey และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ “สินค้าท้องถิ่น” และ “OTOP สินค้าไทย” และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ “สินค้าท้องถิ่น” ด้วยความที่ “สินค้าท้องถิ่น” เป็นสินค้าที่สะท้อนเอกลักษณ์ และภูมิปัญญาของท้องถิ่นนั้นๆ แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนัก ดังนั้นเมื่อศึกษา “Customer Journey” พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่รู้จักสินค้าท้องถิ่นจากการไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ หรืองานแสดงสินค้า จากนั้นทดลองซื้อมาบริโภค หรือใช้ และเมื่อใช้แล้ว หรือบริโภคแล้ว รู้สึกพึงพอใจต่อสินค้าท้องถิ่นนั้นๆ อยากกลับไปซื้อซ้ำ แต่ปรากฏว่าเจออุปสรรคสำคัญ คือ สินค้าหาซื้อไม่ได้ หรือจำชื่อแบรนด์ไม่ได้ นั่นเท่ากับว่า สินค้าท้องถิ่นนั้นๆ พลาดโอกาสการขาย และการรักษาลูกค้าไปทันที ขณะที่ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ประกอบด้วย 5 ปัจจัยดังนี้

  1. ความแตกต่าง สะท้อนเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
  2. การบอกต่อจากคนใกล้ชิด ทำให้อยากลองซื้อ ลองใช้ ลองชิม 
  3. คุณภาพดี อร่อย สะอาด
  4. ทำแบรนด์ดิ้ง และแพ็คเกจจิ้ง ที่แตกต่างจากคู่แข่ง
  5. ช่องทางจำหน่ายต้องชัดเจน และควรเพิ่มโอกาสการขายมากขึ้น ด้วยช่องทางออนไลน์

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ OTOP ไทย

OTOP ไทย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ “OTOP สินค้าไทย” สำหรับ “OTOP สินค้าไทย” เป็นสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในไทย ผลิตในไทย เมื่อพูดถึงชื่อแบรนด์คนจะคุ้นหู เคยเห็น หรือรู้จักเป็นอย่างดี จึงมีฐานตลาดใหญ่กว่าสินค้าท้องถิ่น ดังนั้น “Customer Journey” ของ OTOP สินค้าไทย จึงเร่ิมจากผู้บริโภคต้องการหาสินค้าที่ตอบโจทย์ชีวิตประจำวัน จึงหาข้อมูล เช่น จากรีวิว หรือได้รับแมสเสจจากการสื่อสารของแบรนด์ จากนั้นหาซื้อสินค้า ไม่ว่าจะผ่านช่องทางออฟไลน์ หรือออนไลน์ก็ตาม ในขณะเดียวกันผู้บริโภคพิจารณาถึงคุณสมบัติสินค้าโดนใจ เช่น ผลิตจากวัตถุดิบแท้ ธรรมชาติ มีมาตรฐานที่ได้รับการการันตี ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ และทำ Storytelling แล้วจึงตัดสินใจซื้อ เมื่อเจาะลึกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของแบรนด์ไทย ประกอบด้วย คุณภาพ ถือเป็นหัวใจหลัก ต้องดีจริงตามโฆษณา ราคาต้องมีความเหมาะสมไม่แพงกว่าแบรนด์ต่างประเทศ แบรนด์ต้องมีการสื่อสารไปยังผู้บริโภค มีการรีวิวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สินค้าจะเอกลักษณ์ในเรื่องบรรจุภัณฑ์และการทำแบรนด์จะต้องแตกต่างไม่เหมือนใคร มีความทันสมัยและน่าเชื่อถือ นอกจากนี้จากการทำแบบสอบถาม ยังพบว่า การที่ผู้บริโภคเลือกใช้ OTOP สินค้าไทย นั้น “ไม่ได้ต้องการเลือกซื้อ OTOP สินค้าไทย เพราะสะท้อนถึงความเป็นไทย แต่มุ่งเน้นที่คุณภาพของสินค้าเป็นหลัก” สอดคล้องกับผลของการสัมภาษณ์เชิงลึก ถึงปัจจัยที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากที่สุดในการตัดสินใจซื้อแบรนด์ท้องถิ่นและแบรนด์ไทย คือ “คุณภาพของสินค้า” เป็นหลักเช่นกัน ดังนั้น ผู้ประกอบการควรมีความใส่ใจด้านคุณภาพ เพื่อให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

สินค้าโอทอปแต่ละจังหวัดสินค้าโอทอป 77 จังหวัดสินค้าโอทอปอาหารสินค้า โอทอปขายดีสินค้าโอทอปภาคอีสานสินค้าโอทอป คือสินค้า OTOP สมุนไพรธรรมชาติสินค้า โอทอปขายที่ไหนจำหน่ายสินค้า OTOPจำหน่ายสินค้า OTOP ทั่วประเทศจำหน่ายสินค้า OTOP ของดีทุกจังหวัดยุคแห่งการนำเสนอและขายของออนไลน์สินค้าภูมิปัญญาชาวบ้านสินค้าพื้นบ้านอาหารพื้นบ้านเกษตรกร 100%, ร้านค้ารวมสินค้า OTOP จากทุกจังหวัดตัวแทนสินค้ามาส่งถึงมือท่านOTOP ขอนแก่นOTOP ชัยภูมิOTOP ร้อยเอ็ดOTOP กาฬสินธุ์ให้บริการฝาก-ขาย สินค้า OTOPจำหน่ายสินค้าพื้นบ้านประจำจังหวัดของฝาก ของที่ระลึกอาหารแห้ง อาหารสด

OTOP ไทย