ชาใบหม่อน สินค้า OTOP จังหวัดบุรีรัมย์

ชาใบหม่อน สินค้า OTOP จังหวัดบุรีรัมย์

จุดเด่นชาใบหม่อน สินค้า OTOP จังหวัดบุรีรัมย์

จุดเด่นผลิตภัณฑ์ชาเขียวใบหม่อน เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปประเภท เครื่องดื่ม มีจุดเด่นที่เป็นภูมิปัญญาคนไทย สินค้า โอทอปขายดี สามารถประยุกต์ใช้วัตถุดิบในพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไปมาปรับเป็นผลิตภัณฑ์ ที่เพิ่มมูลค่า มีคุณค่า มีกลิ่นหอม ชาใบหม่อน บุรีรัมย์ กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มชาใบหม่อน สถานที่ผลิต บ้านเลขที่ 57 หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านตะโก อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ ประธานกลุ่ม นางลั่นทม สุทธะ ต้นหม่อนเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านในบ้านเกตุเหนือ หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านตะโก อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ และหมู่บ้านใกล้เคียงปลูกเพื่อไว้เลี้ยงไหม ผลิตเส้นไหมไว้สำหรับทอผ้าในการนุ่งห่ม ผู้หญิง สตรี ในอดีตจะทอผ้าไหมเพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มกันเอง โดยใช้วัสดุที่มีขึ้นเองในธรรมชาติ และมีการสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าไหมแก่ลูกหลานสืบทอดกันต่อๆ มา นอกจากนี้ชาวบ้านนิยมทอผ้าไว้ใช้ในงานประเพณีท้องถิ่น เช่น บวชนาค งานแต่งงาน งานกฐิน ผ้าป่า ฯลฯ จุดเริ่มต้นที่มีการแปรรูปจากใบหม่อนไว้เลี้ยงไหมมาผลิตเป็นใบชาเขียวใบ หม่อน จากคำเล่าขานกันมา ในช่วงปี พ.ศ. 2542 ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายสิทธิ์ สุทธะ ได้ทดลองแปรรูปไว้บริโภคเอง แบบลองผิดลองถูก ต่อมามีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานพัฒนาชุมชนอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ เกษตรอำเภอ ได้เข้ามาให้คำแนะนำขั้นตอนการผลิตที่ถูกต้อง จึ่งได้พยายามผลิตใบชาจากใบหม่อนเพื่อจำหน่ายอีกครั้งและเข้าไปอบรมเพิ่ม เติมที่สถานีทดลองหม่อนไหมจังหวัดบุรีรัมย์ เรื่องการแปรรูปใบหม่อนให้มีมูลค่าเพิ่ม

 

รวบรวมสมาชิกสร้างชาใบหม่อน สินค้า OTOP

ได้รวบรวมสมาชิกในหมู่บ้านที่กำลังว่างงานเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ จำนวน 8 ราย ระดมทุนเริ่มต้นคนละ 200 บาท เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์และวัสดุต่างๆ เนื่องจากสมาชิกมีความอดทนและความพยายามหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ตลอดจนเข้าหาส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับการสนับสนุนด้านวิชาการงบ ประมาณ การตลาด การวางแผนบริหารจัดการกลุ่ม ให้บริการฝาก-ขาย สินค้า OTOP ให้แก่สมาชิกอย่างสม่ำเสมอ จนสามารถเป็นที่ยอมรับของกลุ่มผู้บริโภคและสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ สมาชิกนอกเหนือจากฤดูการทำนาจนสมาชิกเพิ่มขึ้น มีรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 5,000-7,000 บาท/คน และสามารถเป็นที่ยอมรับของตลาดจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของชาวบ้านเกตุเหนือ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตชาเขียวใบหม่อนโดยเฉพาะเนื่องจากรายได้ดีกว่า การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และการทอผ้าไหม จุดเด่นผลิตภัณฑ์ ชาเขียวใบหม่อน เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปประเภท เครื่องดื่ม มีจุดเด่นที่เป็นภูมิปัญญาคนไทย สามารถประยุกต์ใช้วัตถุดิบในพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วไปมาปรับเป็นผลิตภัณฑ์ ที่เพิ่มมูลค่า มีคุณค่า มีกลิ่นหอม มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ OTOP Product Champion ปี 2549 ระดับ 4 ดาว OTOP Product Champion ปี 2553 ระดับ 4 ดาว มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) มาตรฐานอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารสุข มาตรฐาน จี.เอ็ม.พี กระทรวงสาธารณสุข วัตถุดิบ ใบหม่อนพันธ์ บร.69 มีดและเขียง หม้อ กะทะ เตาแก็ส ตะแกรง ตู้อบ กาละมัง ชาใบหม่อน สินค้า OTOP จังหวัดบุรีรัมย์

ขั้นตอนการผลิตชาใบหม่อน สินค้า OTOP จังหวัดบุรีรัมย์

เลือกใบหม่อนประมาณใบที่ 4-5 ห่างจากยอด หั่นใบหม่อนขนาดประมาณ 4 x 0.5 ซม. ลวกน้ำร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 90 องศา นาน 20 นาที นำลงไปแช่น้ำเย็น นำไปคั่วให้แห้ง นำไปอบในตู้อบ อุณหภูมิประมาณ 100 องศา 1 ชั่วโมง บรรจุภัณฑ์ตามต้องการ การผลิตชาเขียวใบหม่อนวัตถุดิบหลักที่สำคัญ คือ ใบหม่อนจะต้องใช้ใบหม่อนที่ไม่อ่อนเกินไปและไม่แก่เกินไป หรือประมาณห่างจากยอดใบที่ 4-5 เท่านั้น จึงจะได้ใบชาที่มีคุณภาพ และกลิ่นหอม ปัจจุบันพันธุ์ที่ใช้ผลิตชาเขียวใบหม่อนใช้พันธุ์หม่อน บร 69 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่จังหวัดบุรีรัมย์เป็นผู้คิดค้น มีลักษณะใบใหญ่หนามีน้ำหนักมาก ลำต้นแข็งแรงเหมาะกับสภาพดินในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จึงจะได้ใบหม่อนเมื่อนำไปแปรรูปจะมีกลิ่นหอม สีชาสวยงาม จำหน่ายสินค้าพื้นบ้านประจำจังหวัด แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ สถานที่ผลิต บ้านเลขที่ 57 หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านตะโก อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ งานจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าภายในอำเภอ/จังหวัด งานจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าต่างจังหวัด ตามงานมหกรรมของหน่วยงานราชการจัด ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เลยกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใบหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ ๖๐ การทำชาใบหม่อนแบบครัวเรือน มุ่งเน้นให้เกษตรกรและบุคคลทั่วไปทำไว้บริโภคเองได้ ซึ่งเกษตรกรที่้มี้แปลงหม่อนเพื่อใช้เลี้ยงไหมอยู่แล้ว หรือบุคคลทั่วไปที่ปลูกหม่อนไว้ตามสวนหลังบ้านหรือปลูกไว้เป็นไม้ประดับ ชาใบหม่อน สินค้า OTOP จังหวัดบุรีรัมย์

สามารถทำชาเขียวใบหม่อนได้ด้วยตนเอง

สามารถทำชาเขียวใบหม่อนได้ด้วยตนเอง ของฝาก ของที่ระลึก ด้วยการใช้อุปกรณ์ในครัวเรือนที่มีอยู่แล้วไม่ต้องไปหาซื้อเพิ่มเติม การทำชาเขียวใบหม่อนแบบครัวเรือนอาจจะพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมภายในครัวเรือนได้ แต่การทำเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อจำหน่าย ต้องคำนึงถึง คุณภาพ โดยเฉพาะเรื่องความชื้น ถ้าคั่วชาไม่ได้ที่ ความชื้นในใบชาหม่อนสูงมีเชื้อราและแบคทีเรียทำลายทำให้ชาใบหม่อนเสื่อมคุณภาพ และอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ วิธีทำชาเขียวใบหม่อน เก็บใบที่ ๓ – ๔ จากยอดหั่นใบให้มีขนาดพอเหมาะ นำมาลวกน้ำร้อน ๒๐ – ๓๐ วินาที แล้วนำมาล้างน้ำสะอาด ผึ่งให้หมาดๆ แล้วนำมาคั่วด้วยไฟอ่อนๆ จนกว่าจะแห้ง นวดใบหม่อนเบาๆ เพื่อให้ผนังเซลล์แตก ทำการบรรจุใส่ภาชนะที่แห้งมีฝาปิดสนิท คุณสมบัติของชาใบหม่อน ลดอาการกระดูกผุ ลดคอเรสตอรอล ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดอัตราเสี่ยงและอันตรายจากมะเร็งในตับ ลดการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งทำให้เส้นเลือดอุดตัน ปรับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตและของเหลวในร่างกายทำให้ปอด กระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะไตและลำไส้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ลดการปวดเมื่อยเป็นตะคริว การผลิตชาใบหม่อนในระดับครัวเรือนของสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเลย ชาใบหม่อน สินค้า OTOP จังหวัดบุรีรัมย์

การทำชาเขียวใบหม่อนแบบครัวเรือน

การทำชาเขียวใบหม่อนแบบครัวเรือนใช้ใบหม่อนสดได้ทั้งใบอ่อนและใบแก่ อาหารแห้ง อาหารส มีขั้นตอนการหั่นใบหม่อนให้มีขนาดประมาณ(0.5-1.0) x (3.0-4.0) เซนติเมตร ตัดก้านใบออก นึ่งด้วยไอน้ำเดือดนาน 1 – 2 นาที โดยเกลี่ยให้ใบหม่อนถูกไอน้ำร้อนอย่างทั่วถึง แต่ต้องระวังอย่าให้ใบหม่อนสุกเป็นสีน้ำตาล(หรือลวกในน้ำร้อนประมาณ 90 องศาเซลเซียส นาน๒๐ วินาทีแล้วจุ่มลงในน้ำเย็นทันที นำขึ้นผึ่งลมให้แห้งหมาดๆ ) คั่วในกระทะด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 20 นาที อบที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส นาน 1 ชั่วโมง สามารถเก็บรักษาไว้ชงดื่มได้นาน ลักษณะทั่วไปของน้ำชา สีเขียวอ่อนปนน้ำตาล กลิ่น หอมใบไม้คั่ว เช่นเดียวกับใบชา แต่มีกลิ่นน้อยกว่า รส หวานเล็กน้อย ฝาดน้อยกว่าชาจากใบชา ไม่มีรสขม ใบหม่อนสดพันธุ์ บุรีรัมย์ 60 เมื่อนำมาทำชาเขียวจะได้น้ำหนักใบชาเพียง ๑๕.๘ % ที่มีความชื้นน้อยกว่า ๑.๐ % ดังนั้นการจะได้ผลิตภัณฑ์ชาเขียวหม่อนแบบครัวเรือน ๑ กิโลกรัม จะต้องใช้ใบหม่อนสดประมาณ ๖.๓ กิโลกรัม ชาใบหม่อน สินค้า OTOP จังหวัดบุรีรัมย์