ชามตราไก่ ลำปาง ฝีมือ-ความทรงจำ
ชามตราไก่ ลำปาง ฝีมือ-ความทรงจำ
ชามตราไก่ ลำปาง ฝีมือ-ความทรงจำปี พ.ศ.2528 รัตนา สินวรรณกุล ทายาท ชามตราไก่ เรียนจบสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำงานหนังสือพิมพ์ในกรุงเทพฯอยู่ราว 3 เดือน ระหว่างนั้นมีเสียงเรียกให้กลับมาช่วยงานบ้าน แต่ก็ยังรีรอ จนเพื่อนคนหนึ่งกระตุกสติด้วยคำพูด “ทำไมไม่เอาความคิดที่มีไปใช้ที่บ้าน” คำพูดนี้ทำให้ตัดสินใจ เวลาผ่านเลย 32 ปี วันนี้รัตนา อายุ 54 ปี เป็นเจ้าของโรงงานผลิต ชามตราไก่ เอสซี เลขที่ 34 ถนนไฮเวย์ลำปาง-งาว ตำบลชมพู อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ย้อนไปเมื่อปี 2500 กลุ่มชาวจีนแคะ 4 คน นายซิมหยู แซ่ฉิน นายเซี่ยะหยุย แซ่อื้อ นายซิวกิม แซ่กว็อก และนายเต็กเชียง แซ่เทน ทุกคนเป็นเพื่อนกัน เดินทางจากตำบลกอปี อำเภอไท้ปู มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ถึงเมืองไทย มารับจ้างทำงานอยู่กรุงเทพฯ ได้ไม่นาน จากนั้นก็ย้ายไปจังหวัดลำปาง ชามตราไก่ ลำปาง ฝีมือ-ความทรงจำวันหนึ่งในสี่สหายไปเห็นชาวบ้านกำลังลับมีด ขอเข้าไปจับดู รู้ทันทีว่าหินลับมีดมีส่วนผสมเป็นดินขาว แร่สำคัญที่ใช้ทำเซรามิก ถามชาวบ้านว่าหินก้อนนี้อยู่ที่ไหนได้คำตอบก็ชวนเพื่อนปั่นจักรยานไปที่อำเภอแจ้ห่ม เจอแหล่งวัตถุดิบก็ชวนกันตั้งโรงงานเซรามิก ชื่อโรงงานร่วมสามัคคี ที่บ้านป่าขาม อำเภอเมือง นี่คือจุดเริ่มต้นของตำนานการทำชามตราไก่ ขนาด 6-8 นิ้ว ด้วยมือ วาดตัวไก่สีแดง หางสีดำ เคลือบด้วยขี้เถ้า ลายไก่ เขียนง่ายๆไม่ซับซ้อน ทำอยู่ 3 ปี มีปัญหาตามมาหลายอย่างทำให้ต้องแยกย้ายไปทำงานอื่น
การตวัดพู่กันจีนวาดลายไก่ ชามตราไก่ ลำปาง
ปี 2512 เซี่ยะหยุย แซ่อื้อ เตี่ยของรัตนากลับมาตั้งโรงงานใหม่ คราวนี้ลายตราไก่ที่เคยมีประสบการณ์ก็ทำต่อ แต่แตกหน่อต่อยอดไปวาดลายดอกไม้และลายอื่น ชามตราไก่ ลำปาง ฝีมือ-ความทรงจำกระบวนการเขียนลายตราไก่ก็พัฒนาไปเป็นตราไก่ในดอกไม้ และในต้นกล้วย แต่สิ่งที่ยากมากกว่า คือวิธีการทำชาม และเทคนิคที่บอกไม่ได้ คือการเผา และสูตรการเคลือบ เซรามิก วิชานี้ เซี่ยะหยุยตั้งใจถ่ายทอดให้ลูกๆทุกคน แต่ลูกทุกคนมีความถนัด เรียนรู้วิชานี้ได้ไม่เหมือนกัน รัตนาเล่าถึงวิธีการทำชามไก่แบบโบราณ เริ่มจากการผสมดิน โดยย่ำด้วยเท้าและนวดด้วยมือ จากนั้นนำมาปั้นตบเป็นแผ่น นำล้อจักรยานมาเป็นแป้นหมุนในการขึ้นรูป นำดินขาวที่หมักเปียกขว้างลงบนพิมพ์ที่หมุนอยู่บนล้อจักรยาน ใช้แผ่นไม้ตัดเป็นรูปโค้ง กวาดแต่งเติมดินให้ได้รูปทรงถ้วยกลมทีละใบ เสร็จแล้วนำมาต่อขา ทิ้งค้างไว้บนกระดานให้แห้งโดยธรรมชาติ จากนั้นเคลือบด้วยขี้เถ้าแกลบ เผาด้วยเตามังกรโบราณใช้ไม้ฟืน ความร้อนเกือบ 1,300 องศา ราว 18-24 ชั่วโมง ขั้นตอนนี้ช่างจะอาศัยประสบการณ์ โดยสังเกตสีของเปลวไฟ ชามไก่ในยุคแรกๆค่อนข้างหนา เมื่อเผาดินสุกก็นำมาเขียนสีบนเคลือบด้วยพู่กัน การตวัดพู่กันจีนวาดลายไก่ ดอกไม้ และต้นกล้วย จะถูกถ่ายทอดให้คนงานในท้องถิ่น โดยใช้คนวาด 2-3 คน แต่ละคนจับพู่กันทีละ 2-3 ด้าม วาดต่อเติมกันเป็นส่วนๆจนเต็มรูปแบบในแต่ละใบ
ข้อดีของกระบวนการทำชามตราไก่แบบโบราณ
เสร็จแล้วนำไปเผาในเตาอบรูปกลม ซึ่งภายในเป็นถังดินขนาดใหญ่อีกครั้ง ด้วยความร้อนจากฟืนราว 700-750 องศา 5-6 ชั่วโมง รอจนเย็นแล้วก็จัดใส่เข่งจำหน่าย ข้อดีของกระบวนการทำชามตราไก่ แบบโบราณ คือได้ชามคุณภาพดี ข้อเสียคือผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ตลาด ปี 2516 ชาวจีนไท้ปูร่วมกลุ่มกันดันราคาเซรามิกให้ดีขึ้น จาก 14 สตางค์ เพิ่มเป็น 1.10 บาท ทำให้ชามลายไก่มีราคาขึ้นเป็นเท่าตัว เตี่ยเริ่มมีเงินทุนมากขึ้น ก็ตั้งโรงงานเอเชีย ให้พี่ชายคนโตที่มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นผู้บุกเบิกงานสร้างสรรค์ สัตว์ในวรรณคดี เกล็ด พญานาค โบสถ์ วิหาร บันไดนาค ทางขึ้นดอยสุเทพ และเกล็ดนกหัสดีลิงค์ ที่วัดบ้านเด่นสะหรีศรีเมืองแกน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งโรงงานแห่งใหม่ให้พี่ชายคนที่สอง ชื่อโรงงานสยามซีรามิคส์ ส่วนของรัตนา ทำโรงงานเอสซี จำหน่ายวัตถุดิบ คือดินขาว แยกมารับทำผลิตภัณฑ์ถ้วยขนมวาดลายไก่ ปี 2556 โรงงานสยามซีรามิคส์ปิดตัวลง พร้อมๆเตามังกรโบราณ ความเปลี่ยนแปลงนี้มีผลให้โรงงานเซรามิกทั้งจังหวัดลำปางเปลี่ยนกรรมวิธีผลิตชามตราไก่ เป็นการผลิตใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง ชามตราไก่ เอกลักษณ์คือลายไก่ วัตถุดิบทำจากดินขาว คุณสมบัติ ทนไฟสูง ไม่มีสารตะกั่ว สีแดงและสีดำที่ใช้วาดเป็นสีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ประจวบเหมาะสัญลักษณ์ของจังหวัดลำปางก็เป็นลายไก่
ชามตราไก่ ลำปาง ฝีมืออย่างนี้มาแล้วเป็น 10 ปี
เซรามิกลำปาง เคยถูกโจมตีจากจีน ว่ามีสารตะกั่วเจือปน เข้าไมโครเวฟไม่ได้ รัตนาฟื้นความหลัง แต่ความจริง เซรามิกลำปาง เผาที่อุณหภูมิ 1,200 องศาขึ้นไป สีที่ใช้สีทนไฟ เป็นสีใต้เคลือบ ไม่มีสารตะกั่ว จุดเด่นของถ้วยขนมโรงงานเอสซี ยังมีการวาดด้วยพู่กันจีน ไก่ที่วาดอย่างนี้ ดูมีชีวิตชีวา มีความกระตือรือร้น ต่างจากไก่โรงงานอื่น ที่ดูเหมือนไก่สตัฟฟ์ สังเกตได้จากปากกับหงอนไก่ ถ้วยขนมตราไก่ รัตนาสารภาพว่า ส่วนใหญ่พี่สาว เชียง สินวรรณกุล เป็นคนวาด เชียงชำนาญการใช้พู่กันมาก จับพู่กันสามอันในมือเดียว สลับกันไปมา ไก่มีชีวิตชีวาพริ้วไหว นอกจากวาดได้สวยงาม เชียงยังวาดได้มาก ถึงวันละสองถึงสามพันชิ้น และวาดไก่ด้วยฝีมืออย่างนี้มาแล้วเป็น 10 ปี สภาพเศรษฐกิจสองปีที่ผ่านมา โรงงานเอสซีต้องหดตัวลง เหลือแค่ทำถ้วยขนม ถ้วยตะไล ผลิตตามใบสั่งแต่ความเชี่ยวชาญงานเขียนลายไก่ยังมี และได้รับความเชื่อถือ จากคนในวงการ รัตนากับพี่เชียงจึงแบ่งเวลา กับการออกรับงานสอนการวาดลายไก่บนถ้วยดิบด้วยพู่กันจีน วัตถุประสงค์หลักอยากให้คนรู้คุณค่าของงาน เซรามิกลำปาง โดยเฉพาะการวาดลายไก่ ว่าเป็นของคนรุ่นดั้งเดิม เพียงแต่ตอนนี้ไม่มีการผลิตแบบโบราณอีก ตอนสอน ประโยคที่ถูกถามบ่อยๆ ดินที่ทำเซรามิกทำมาจากอะไร เข้าไมโครเวฟได้หรือเปล่า รัตนาก็อธิบายว่า ถ้วยตราไก่ไม่มีสารตะกั่ว
ถ้วยตราไก่ ลำปาง, ชามตราไก่ ลำปาง, จำหน่ายสินค้า OTOP, จำหน่ายสินค้า OTOP ทั่วประเทศ, จำหน่ายสินค้า OTOP ของดีทุกจังหวัด, ยุคแห่งการนำเสนอและขายของออนไลน์, สินค้าภูมิปัญญาชาวบ้าน, สินค้าพื้นบ้าน, อาหารพื้นบ้าน, เกษตรกร 100%, ร้านค้า, รวมสินค้า OTOP จากทุกจังหวัด, ตัวแทนสินค้ามาส่งถึงมือท่าน, OTOP ขอนแก่น, OTOP ชัยภูมิ, OTOP ร้อยเอ็ด, OTOP กาฬสินธุ์, ให้บริการฝาก-ขาย สินค้า OTOP, จำหน่ายสินค้าพื้นบ้านประจำจังหวัด, ของฝาก ของที่ระลึก, อาหารแห้ง อาหารสด